piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, PMS
สารบัญ
Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)

การรักษาอาการปวดเมื่อยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS (Peripheral Magnetic Stimulation): ทางเลือกใหม่สำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ

การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของทุกคน และในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพมากมาย หนึ่งในนั้นคือ โปรแกรมการรักษาด้วยเครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นการรักษาที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจน และไม่จำเป็นต้องทำบ่อยๆ

เครื่อง PMS คืออะไร?

เครื่อง PMS ย่อมาจาก Peripheral Magnetic Stimulation คือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการใช้อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic กระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยคลื่นแม่เหล็กความแรงสูงเพื่อยับยั้งอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคปวดข้อต่อ โรคเอ็นข้อมืออักเสบหรือโรคเอ็นต่าง ๆ และอาการชาจากเส้นประสาท โดยกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง PMS ได้ เช่น กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stoke) กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังหรือกลุ่มที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือออฟฟิศซินโดรม กลุ่มอาการชา เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาร่วมกับเครื่อง Shockwave ได้

piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, Hifu, Botox, Filler, Thermage, ฟิลเลอร์, โบท็อกซ์
หลักการทำงานของเครื่อง PMS

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ทำงานโดยการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านผิวหนังลงไปยังเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาท กระบวนการนี้เรียกว่า “Recruit Motor Units”  ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของหน่วยประสาทสั่งการในกล้ามเนื้อ (Motor Units) ส่งผลให้เกิดการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ โดยการกระตุ้นนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดอาการอักเสบ และส่งเสริมการซ่อมแซมเนื้อเยื่อให้คืนสู่สภาพปกติโดยไว

piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, Hifu, Botox, Filler, Thermage, ฟิลเลอร์, โบท็อกซ์
เครื่อง PMS รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

PMS เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดอื่นๆ และเนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะจึงทำให้สามารถรักษาโรคได้ทั้งกลุ่มกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเอ็น กระดูก ไปจนถึงอาการไมเกรน โดยสามารถแบ่งได้หลัก ๆ ประมาณ 5 กลุ่มโรค ดังนี้

  1. ออฟฟิศซินโดรม

ผู้ป่วยกลุ่มออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดต่าง ๆ ทั้งชนิดเชื้อรัง และเฉียบพลัน การใช้เครื่อง PMS เข้ารักษาจะช่วยลดอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาท กล้ามเนื้อ พังผืด เอ็น อาการเคล็ดคัดยอก เช่น อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แขน มือ หลัง เอว สะโพก เข่า หรือปวดข้อเท้า เป็นต้น หากรักษาด้วยเครื่อง PMS อย่างต่อเนื่องอาการปวดต่าง ๆ รวมถึงออฟฟิศซินโดรมจะค่อย ๆ ดีขึ้น

  1. อัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมองตีบ

กลุ่มผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke) รวมถึงการบาดเจ็บในสมอง การบาดเจ็บของไขสันหลัง หน้าเบี้ยวครึ่งซีก โดยการรักษาด้วยเครื่อง PMS จะช่วยลดภาวะการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกลุ่มคนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  1. โรคกระดูกสันหลัง

กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังคือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง มาจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือในกลุ่มคนที่กระดูกสันหลังมีการยุบตัวลงจนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการเหมือนปวดร้าวลงขา หรือถ้าหากเป็นกระดูกบริเวณต้นคอก็จะมีอาการปวดร้าวลงแขน 

การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยเครื่อง PMS จะช่วยรักษาและลดอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลังได้ เนื่องจากการถูกกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถลงลึกไปถึงรากประสาทได้

  1. กลุ่มอาการชา

กลุ่มอาการชา หรือผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาท หรือเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น มือชา เท้าชา แขนชา โดยส่วนมากมักพบในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้เกิดการขาดสารอาหารจากน้ำตาลในเลือดที่จะไปเลี้ยงตัวเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบขึ้นมา การรักษาด้วยเครื่อง PMS จะช่วยให้อาการชาดีขึ้นในแต่ละครั้งที่รักษา

  1. อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

เครื่องกายภาพ PMS ยังสามารถช่วยรักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้ เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก จำพวกอาการเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ การใช้เครื่อง PMS จะช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและช่วยซ่อมแซมระบบประสาทส่วนที่มีการเสียหายให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, PMS, PMS เหมาะกับใคร
ข้อห้าม

แม้ว่า PMS จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็มีข้อห้ามสำหรับบุคคลบางกลุ่ม ได้แก่

  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังในร่างกาย หรือผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ ควรแจ้งแพทย์ก่อนการรักษา เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจทำให้เกิดความผิดปกติและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกระตุ้นได้
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคลมชัก
  • ผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ยังทำการรักษา
  •  
ขั้นตอนการรักษาด้วยเครื่อง PMS
  1. ปรึกษาแพทย์: แพทย์จะประเมินอาการ ซักประวัติ และตรวจร่างกาย เพื่อพิจารณาว่าการรักษาด้วย PMS เหมาะสมหรือไม่
  2. เตรียมตัวก่อนการรักษา: พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด และควรงดใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะ เพราะความร้อนที่ใช้จะสะสมที่วัสดุโลหะต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้
  3. เข้ารับการรักษา: แพทย์หรือนักกายภาพจะใช้ส่วนหัวคอยล์ของเครื่องทาบลงบนกล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการรักษา แล้วค่อย ๆ เลื่อนไปมา ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ รู้สึกเหมือนมีอะไรมา กระทบเป็นจังหวะ ในตำแหน่งที่มีการยิงคลื่น
  4. หลังการรักษา: แพทย์จะประเมินอาการ และให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองหลังการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ทันที แต่ในบางรายอาจมีอาการไม่สบายเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะดูแลจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  5.  
piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, Hifu, Botox, Filler, Thermage, ฟิลเลอร์, โบท็อกซ์
หลังการรักษาด้วยเครื่อง PMS

หลังจากที่ทำการรักษาด้วยเครื่อง PMS โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกถึงอาการปวดที่ดีขึ้นได้ทันทีหลังทำ และอาการจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้งที่มารับการรักษา ในบางรายที่ถูกกระตุ้นครั้งแรก อาจมีกล้ามเนื้อระบมได้ คล้ายอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย  แต่อาการควรหายไปในเวลาสั้น หากอาการเป็นต่อเนื่องยาวนานหลักหลายชั่วโมง ไปจนถึงถึงหลักวัน ให้ติดต่อแพทย์เพื่อปรึกษาแนวทางรักษาต่อไป และระหว่างทำการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดตะคริวในบริเวณกล้ามเนื้อที่กระตุ้นได้

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเครื่อง PMS

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง PMS คือ กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมได้ ทั้งนี้แพทย์จะทำการประคบเย็นให้ทันทีหลังจากรักษาเสร็จ นอกจากนี้การใช้เครื่อง PMS รักษาอาการปวดต่าง ๆ จำเป็นจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด เนื่องจากเป็นกระบวนการรักษาที่เกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะการใช้เครื่อง PMS บริเวณใบหน้า ที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง 

รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือปวดมาก หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อยอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต จำเป็นจะต้องอาศัยการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเครื่อง PMS

ระยะเวลาในการรักษาด้วย PMS ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ความรุนแรงของอาการ และการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไป การรักษาด้วยเครื่อง PMS จะใช้เวลาครั้งละ 5-10 นาทีต่อ 1 จุด และเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์จะแนะนำให้รักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลารักษาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ต่อ 1 ครั้ง

piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, Hifu, Botox, Filler, Thermage, ฟิลเลอร์, โบท็อกซ์
ทำไมต้องรักษาที่ Piraya Clinic

โปรแกรมการรักษาด้วยเครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ PMS มีข้อดีคือ ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยา และมีผลข้างเคียงน้อย อย่างไรก็ตามการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนการรักษา เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดของ Piraya Clinic มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) อย่างมืออาชีพ ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

piraya clinic, ภิรญา คลินิก, คลิกนิกความงาม, คลินิก, ทำหน้า, หัตถการ, เมืองทอง, กายภาพ, กายภาพบำบัด, Hifu, Botox, Filler, Thermage, ฟิลเลอร์, โบท็อกซ์

หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการนัดหมาย สามารถติดต่อเราได้ที่ โทร 096-4464798 หรือช่องทางต่างๆด้านล่าง

LINE

@pirayaclinic

TikTok

@piraya.clinic

Instagram

pirayaclinic

Facebook

pirayaclinic